วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557


การเข้าเรียนครั้งที่ 16


คำชี้แจง : ข้อสอบปลายภาควิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ เป็นแบบอัตนัยจำนวน 3 ข้อ 15 คะแนน


1. ให้นักศึกษาเขียนแผนผังความคิดสรุปความรู้ที่ตนเองได้รับจากวิชา   การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความ

ต้องการพิเศษ  (7คะแนน)

2.  ยกตัวอย่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษมา1ประเภท โดยอธิบายตามหัวข้อดังนี้   (5คะแนน)
      
  - ลักษณะอาการ
       
  - บทบาทของครู
       
  - การดูแลและการส่งเสริมพัฒนาการ

3.  ให้นักศึกษาบรรยายความรู้สึกของตนเองที่มีต่อรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ  (3คะแนน)


- ส่งสรุปวิจัยภายในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557

- ส่งข้อสอบภายในวันที่ 27 - 28 กุมภาพันธ์ 2557 ก่อนเวลา 17.00 น.

- ทำ blogger ให้เสร็จภายในวันที่ 2 มีนาคม 2557








การเข้าเรียนครั้งที่ 15

การเรียนการสอน


LD คืออะไร?

ความบกพร่องของกระบวนการเรียนรู้ ที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ความสัมฤทธิ์ผลด้านการเรียนต่ำกว่าความเป็นจริง

ความบกพร่องนี้อาจเกิดขึ้นเฉพาะความสามารถด้าน ใดด้านหนึ่ง เช่น การอ่าน การเขียน การสะกดคำ การคำนวณ หรือหลาย ๆ ด้านร่วมกัน


สาเหตุของ LD

1.ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)

2.กรรมพันธุ์


ปัญหาการเรียน

ปัญหาการพูด  มีปัญหาในการฟังและพูด เช่น พูดช้าพูดสับสน เรียบเรียงประโยคไม่ค่อยได้ หาคำพูดเพื่อมาตอบคำถาม             

ไม่ถูกต้อง

ปัญหาการเขียน  มีความลำบากในการอ่าน การเขียน และ การสะกดคำ เช่น อ่านไม่เข้าใจ อ่านออกเสียงไม่ถูกต้อง  อ่านตัว

อักษรสลับกัน

ปัญหาการคำนวณ ไม่เข้าใจแนวคิดของพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทำเลขไม่ได้

ปัญหาในกระบวนความคิด สับสนในการเรียบเรียงและบูรณาการข้อมูลและความคิดต่างๆ

ปัญหาความจำ จำข้อมูลและคำสั่งต่างๆไม่ค่อยได้นึกอะไรไม่ค่อยออก


โรคสมาธิสั้น

                 เรียกย่อๆว่า ADHD  มาจากชื่อในภาษาอังกฤษ “Attention deficit/ hyperactivity disorder”  เด็กวัยเรียนทั่วโลกพบว่าเป็นโรคสมาธิสั้นประมาณ 7 %  หมายความว่าในเด็กวัยเรียน 100 คน จะพบเป็นโรคสมาธิสั้น 7 คน  ถ้าในห้องเรียนมีนักเรียนประมาณ 40 50 คน ก็น่าจะมีเด็กสมาธิสั้น 2 3 คน

โรคสมาธิสั้นเกิดจากอะไร?

                สมองส่วนหน้าที่มีหน้าที่ควบคุมเรื่องการสมาธิจดจ่อ การยับยั้งชั่งใจและการเคลื่อนไหวของร่างกาย ทำงานน้อยกว่าเด็กปกติ





ปัจจัยทางพันธุกรรม

1.ถ้ามีพ่อหรือแม่ 1 คนเป็นโรคสมาธิสั้น พบว่าลูกจะเป็นโรคนี้ร้อยละ 57
2.ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
3.มารดาสูบบุหรี่หรือใช้สารเสพติดช่วงตั้งครรภ์
4.น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์
5.ได้รับพิษสารตะกั่ว
6.ฯลฯ




การเข้าเรียนครั้งที่ 14

การดูและรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

ดาวน์ซินโดรม

     รักษาตามอาการ

1.แก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย
2.ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวันและใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
3.เน้นการดูแลแบบองค์รวม 

ออทิสติก

     ส่งเสริมความสามารถเด็ก

1.การเสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย
2.ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
3.การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม
4.เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
5.การแรงเสริม



การเข้าเรียนครั้งที่ 13


                                             ไม่มีการเรียนการสอน เพราะ สอบในรายวิชา
                                         การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ




วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557


การเข้าเรียนครั้งที่ 12

การเรียนการสอน



พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่ และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำสิ่งที่ยากสลับซับซ้อนมากขึ้น โดยทั่วไป พัฒนาการปกติ

เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ หมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน ที่สามารถทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ โดยความล่าช้านั้นปรากฏให้เห็นตั้งแต่วัยทารกและวัยเด็กตอนต้น พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงใดด้านหนึ่ง หลายด้าน หรือทุกด้านและพัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผล ให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้

ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก

1. ปัจจัยทางด้านชีวภาพ ลักษณะทางพันธุกรรม
2. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
3.ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
4. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด

สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ

1.โรคพันธุกรรม
2. โรคของระบบประสาท
3. การติดเชื้อ
4.ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
6. สารเคมี
        6.1 ตะกั่ว
        6.2 แอลกอฮอล์ Fetal alcohol syndrome.FAS
        6.3 นิโคติน
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร


การนำเสนองานเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


Autism คืออะไร


โรค Autism เป็นความผิดปกติในสมอง เด็กที่เป็นจะมีปัญหาเรื่อง การสื่อสาร ความสัมพันธ์ กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เด็กบางคนสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและก็มีความฉลาด แต่เด็กบางคนเป็นเด็กปัญญาอ่อน ไม่พูด เด็กบางคนก็มีพฤติกรมทำซ้ำซาก จะเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก           


ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาของสมอง

พันธุกรรม พบว่าฝาแผดไข่ใบเดียวกัน หากมีคนหนึ่งเป็นอีกคนหนึ่งจะมีโอกาสสูง หากมีพี่นอนคนหนึ่งเป็นน้อง               ก็มีความเสี่ยงสูง

ขณะตั้งครรภ์ ขณะเป็นตัวอ่อนในครรภ์สมองเด็กจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากมีสิ่งมากระทบสมองเด็กโดยเฉพาะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ตัวอย่างภาวะดังกล่าวได้แก่ การติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน การขาด oxygen ขณะคลอด 



เด็กที่เป็น Autism


เด็กปกติ

การสื่อสาร

ไม่มองตา
หันไปตามเสียง
เหมือนคนหูหนวก
หันไปตามเสียง
เคยพูดได้ต่อมาหยุดพูด
เรียนรู้คำพูดเพิ่มเติม

ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

เด็กจะไม่สนใจคนรอบข้าง
เด็กจะร้องเมื่อออกจากห้อง หรือมีคนแปลกหน้าเข้าใกล้
ทำร้ายคนโดยไม่มีสาเหตุ
ร้องเมื่อหิวหรือหงุดหงิด
จำคนไม่ได้
จำหน้าแม่ได้

ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

นั่งเล่นอย่างใดอย่างหนึ่ง
เปลี่ยนของเล่น
มีพฤติกรมแปลกๆเช่นนั่งโบกมือ
การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นการหยิบของ
ดมหรือเลียตุ๊กตา
สำรวจและเล่นตุ๊กตา
ไม่รู้สึกเจ็บปวด ชอบทำร้ายตัวเอง
ชอบความสุขและกลัวความเจ็บ


ดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome)

เด็กดาวน์ หรือเด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม เป็นเด็กที่มีภาวะปัญญาอ่อน ซึ่งมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม เพราะความผิดปกติของโครโมโซม


โครโมโซม จะมีอยู่ในเซลร่างกายมนุษย์ แต่ละคนจะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 แท่ง มีหน้าที่แสดงลักษณะของคนๆนั้นออกมา เช่น ผมสีดำ ตัวเตี้ย ตัวสูง เพศชาย เพศหญิง และถ่ายทอดลักษณะเหล่านั้นออกมาให้ลูกหลาน โดยจะได้จากบิดา 23 แท่ง มารดา 23 แท่ง

สาเหตุของการเกิดกลุ่มอาการดาวน์

สาเหตุของความผิดปกติของโครโมโซม ยังไม่ทราบแน่ชัด มีปรากฏในทุกเชื้อชาติ เด็กเกิดใหม่ 1,000ราย จะพบเด็กดาวน์ 1 ราย ความผิดปกติมี 3 ประเภทคือ

1.โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง พบได้ร้อยละ 95 %
2.โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับคู่ที่ 21 พบได้ร้อยละ 4
3.มีโครโมโซม ทั้งปกติในคนเดียวกันได้พบได้ร้อยละ 1

การดูแลเด็กดาวน์

               สุขภาพอนามัย เด็กดาวน์ จะมีโรคที่เป็นมาแต่กำเนิด หรือมักจะเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าเด็กทั่วไป ดังนั้นผู้ปกครอง จึงควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์ ตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อแพทย์จะได้ค้นหา หรือให้การบำบัด รักษาได้ทันกาล รวมทั้งป้องกันโรค ที่อาจจะเกิดขึ้นได้

การส่งเสริมพัฒนาการ

               เด็กดาวน์ สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม ดังนั้นผู้ปกครอง จึงควรพาเด็กไปพบแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำ และวิธีการ ในการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อให้เด็กมีความพร้อม รวมทั้งนำกลับมาฝึกฝนที่บ้าน หรือในทุกโอกาสเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการใกล้เคียงกับเด็กปกติ


การเข้าเรียนครั้งที่ 11


ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมือง



การเข้าเรียนครั้งที่ 10

การเรียนการสอน


นำเสนอประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ  


กลุ่มที่ 1   Cerebral Palsy C.P
กลุ่มที่ 2   Children with Learning Disabilities L.D.
กลุ่มที่ 3   Children with Attention Deficit and  Hyperactivity Disorders 

ซึ่งพึงนำเสนอได้เพียง 3 กลุ่มเท่านั้น ซึ่งทั้งหมดมี 5 กลุ่ม

Cerebral Palsy C.P


              โรค Cerebral Palsy (ซีรีบรัล พลัลซี หรือ ซีพี) หรือ โรคสมองพิการ เกิดจากสมองส่วนที่ใช้ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งบกพร่อง หรือสูญเสียไป ในทางการแพทย์ จัดเด็กพิการ CP เป็นภาวะพิการทางสมองชนิดหนึ่ง  ซึ่งจะทำให้ผู้เป็น โรค Cerebral Palsy มีปัญหาในการเคลื่อนไหว 
 แบ่งสาเหตุการเกิดได้ 3 ระยะ คือ
1. ระหว่างตั้งครรภ์   
2. ระยะระหว่าคลอด
3. ระยะหลังคลอด 

อาการ

             พ่อแม่พบความผิดปกติก่อนอายุ 1 ปี สังเกตได้จากเด็กมีท่านอนผิดปกติจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเกร็ง เด็กอายุมากกว่า 5 เดือน กำมือมากกว่าแบมือ หรือในเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ปี ยังไม่สามารถเดินได้ เป็นต้น จำเป็นต้องพาเด็กเข้ารับการตรวจรักษาทันทีเมื่อสังเกตพบความผิดปกติ เเบ่งอาการเป็น 3 กลุ่ม

1.กลุ่มแข็งเกร็ง (สปาสติก : spastic)
2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง (อะธีตอยด์ : athetoid ; อะแทกเซีย : ataxia)
3.กลุ่มอาการผสมกัน (mixed type)


การดูแล/รักษา

1.การรักษาทางกายภาพบำบัด
2.การรักษาทางกิจกรรมบำบัด
3.การรักษาด้วยยา
4.การรักษาด้วยการผ่าตัด
5.การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เสริมร่วมกับการรักษา


Children with Learning Disabilities L.D.

สาเหตุของโรคแอลดี

                   เด็กแอลดี (LD : Learning Disability) หรือ เด็กที่อยู่ในภาวะความบกพร่องในการเรียนรู้ เด็กๆ เหล่านี้จะมีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือฉลาดกว่า แต่การเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆ ด้านจะช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน
โรคแอลดีเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสมองส่วนใดหรือมีความผิดปกติอย่างไร พบว่ามักจะอยู่ในกลุ่มที่แม่มีปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ มีปัญหาระหว่างคลอดหรือหลังคลอด หรือสมองของเด็กมีการทำงานผิดปกติ โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อ อุบัติเหตุ ได้รับสารพิษ เป็นต้น

                   เด็กแอลดีไม่ได้เป็นปัญญาอ่อน มีสติปัญญาปกติหรือมากกว่าปกติ และไม่ได้พิการใดๆ ทั้งสิ้น สาเหตุจะต้องมาจากความผิดปกติของสมองเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่การอยู่ในวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะด้อยโอกาสในการดูแล หรือ เด็กที่มีความบกพร่องด้านการเรียน อาจเกิดจากระบบการสอนที่ไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กตามวัย อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความบกพร่องด้านการเรียนได้ เช่น การเร่งให้เด็กเขียนหนังสือในขณะที่พัฒนาการกล้ามเนื้อของเด็กยังไม่พร้อม เป็นต้น จึงไม่จัดอยู่ในกลุ่มของเด็กแอลดี

ข้อสังเกตและอาการบ่งชี้

                   เด็กแอลดีอาจแสดงออกมาเป็นความบกพร่องทางการฟัง การพูด การเขียน การคำนวณ เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนทำให้เรียนไม่ได้ตามศักยภาพที่มีอยู่ เด็กพวกนี้ถึงแม้จะเรียนพร้อมกับเด็กคนอื่น แต่ก็เรียนรู้ไม่ได้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1. ด้านการอ่าน  (Dislexia)

           อาจจะอ่านไม่ออกหรืออ่านได้บ้าง สะกดคำไม่ถูก ผสมคำไม่ได้ สลับตัวพยัญชนะ สับสนกับการผันสระ อ่านตกหล่น ข้ามคำ อ่านไม่ได้ใจความจนถึงขั้นอ่านไม่ออกเลย

2. ด้านการเขียนและการสะกดคำ  (Disgraphia)

            รู้ว่าจะเขียนอะไร แต่เขียนไม่ได้ เขียนตก เขียนพยัญชนะสลับกัน บางคนเขียนแบบสลับซ้ายเป็นขวาเหมือน ส่องกระจก เกิดจากมือและสายตาทำงานไม่ประสานกัน เขียนกลับหลัง เขียนพยัญชนะ สระวรรณยุกต์ สลับตำแหน่งกัน (เด็กกลุ่มนี้มักจะเริ่มสังเกตเห็นปัญหาได้ชัดเจนตอนเริ่มเข้าเรียน) เช่น ก ไก่ เขียนหันหัวไปทางขวาแทนที่จะเป็นทางซ้าย

3. ด้านการคำนวณ  (Discalculia) 

             อาจจะคำนวณไม่ได้เลย หรือทำได้แต่สับสนกับตัวเลข ไม่เข้าใจสัญลักษณ์ ไม่เข้าใจค่าของตัวเลข ไม่สามารถจับหลักการ บวก ลบ คูณ หารได้


Children with Attention Deficit and  Hyperactivity Disorders 

               สมาธิสั้น (อังกฤษ: Attention Deficit Hyperactivity Disorders (ADHD) เป็นความผิดปกติด้านพฤติกรรม เกิดจากการทำงานที่ไม่เหมาะสมของสมอง โดยเฉพาะสมองส่วนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสมาธิ ทำให้เกิดการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กันกับระบบสั่งงานอื่นๆ ผู้ที่มีภาวะสมาธิสั้นคือผู้ที่มีความบกพร่องในเรื่องสมาธิ และการควบคุมการกระทำของตนเองในการเคลื่อนไหวต่างๆ ซึ่งอาการนี้อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์

สาเหตุ

              แท้จริงของภาวะสมาธิสั้นนั้นยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน แต่สันนิษฐานว่าอาจเป็นผลมาจากความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง อีกสาเหตุหนึ่งที่เป็นไปได้ก็คือพันธุกรรมที่มีผลต่อสมอง แม้ว่าจะยังไม่มีรายละเอียดชัดเจนว่าภาวะสมาธิสั้นมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมอย่างไรก็ตาม

ลักษณะอาการ ในเด็กเล็กวัย 3 - 5 ขวบ

               ไม่อยู่นิ่ง เคลื่อนไหวตลอดเวลา แม้ขณะรับประทานอาหาร เช่น นั่งรับประทานอาหารได้เพียงคำเดียวก็ลุกขึ้นวิ่ง มักพูดแทรกและขัดจังหวะคนอื่น เป็นคนอดทนรอไม่ได้ เช่นเวลาเข้าแถว เวลาเล่นของเล่น หรือเกมที่ต้องผลัดกันเล่น เล่นของเล่นอย่างใดอย่างหนึ่งได้ไม่นาน ไม่สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ ทั้งที่มีความเข้าใจ และสื่อสารได้ปกติ เล่นเสียงดังมากกว่าเด็กคนอื่นไม่ชอบแบ่งปัน ชอบแย่งของจากคนอื่น โดยไม่เข้าใจความรู้สึกของคนที่ถูกแย่ง ดูเหมือนกับมีพลังงานมากมาย ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

จะพบอาการได้ชัดกว่าในเด็กเล็ก มีอาการสำคัญ 3 กลุ่มอาการดังนี้

1. อาการไม่มีสมาธิ (Inattention)

- มีความสะเพร่า เลิ่นเล่อ ผิดพลาดสิ่งเดิม ๆ ซ้ำ ๆ อยู่เสมอ
- เหม่อลอย บางครั้งอาจนั่งนิ่งๆ เป็นระยะเวลานานๆ จึงมักทำงานไม่เสร็จ หรือทำงานช้า แต่บางครั้งหากเป็นสิ่งที่สนใจมาก ๆ
- ไม่ฟังเวลาผู้ใหญ่พูดด้วยหรือสอน มักจำไม่ได้ ลืมง่ายมากกว่าเด็กทั่วไป
- มักทำของหาย เช่น ของเล่น การบ้าน ดินสอ หนังสือ ยางลบ ฯลฯ
- วอกแวกได้ง่ายมากแม้แต่สิ่งเร้าเล็กๆ น้อยที่ผ่านทางตาหรือหูก็สามารถทำให้เสียสมาธิได้

2. อาการอยู่ไม่สุข (Hyperactivity)

- ชอบเดินไปมาในห้อง หรือออกนอกห้อง ถ้าไม่เดินก็จะนั่งไม่อยู่นิ่ง อยู่ไม่เป็นสุข ลุกลี้ลุกลน หยิบโน่น ฉวยนี่ 
- ซนมากกว่าเด็กทั่วๆไป ดูเหมือนมีพลังงานอยู่ตลอดเวลา ชอบวิ่งเล่นหรือปีนป่ายในสถานที่ที่ไม่สมควร 
- มักลืมตัวเล่นเสียงดัง
- ไม่มีระเบียบในการทำสิ่งต่างๆ มักวุ่นวาย ยุ่งเหยิงตลอดเวลา

3. ขาดความยับยั้งชั่งใจ อดทนรออะไรไม่ได้ (Impulsive)

- มักพูดมาก พูดแทรก
- รอคอยไม่เป็น มักแสดงออกในลักษณะรีบเร่ง
- หุนหันพลันแล่นทำสิ่งต่างๆ อย่างรวดเร็วโดยไม่ยั้งคิด